วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

Les temps de l' indicatif

Le passé récent & Le passé composé


Le passé récent

การใช้ : Le passé récent ใช้บอกเล่าหรือ บรรยายเหตุการณ์ที่เพิ่งจบลงไป

- Le train vient d' entrer en gare. Les passagers en descendent. (รถไฟ เพิ่งเข้าสู่สถานี ผู้โดยสารกำลังลงจากรถไฟ)

- Vous voulez un café ? (คุณต้องการกาแฟสักถ้วย ไหม)

+ Non, merci. je viens d' en prendre. (ไม่หรอกครับ ขอบคุณ ผมเพิ่งจะดื่มมา)

รูปแบบ : Le passé récent สร้างโดยใช้ verbe "venir de" ในรูป présent + infinitif :

Je viens de déjeuner.

Tu viens de rentrer ?

Il / Elle vient de sortir.

Nous venons de commencer.

Vous venez d' écouter France-Inter.

Ils / Elles viennent d' entrer en classe.


Le passé composé

การใช้ :

1. บอกเล่าหรือบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและจบลงไปเรียบร้อยแล้ว

- Je suis née le 20 mars 1987. (ดิฉันเกิดวันที่ 20 มีนาคม 2530)

- L' année dernière, j' ai acheté une nouvelle voiture. (เมื่อปีที่แล้วฉันซื้อรถใหม่คันหนึ่ง)

- Est-ce que tu lui as téléphoné ? (เธอโทรศัพท์ถึง เขาแล้วหรือยัง)

2. บอกเล่าหรือบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในอดีตแต่มีผลมาถึงปัจจุบัน

- Elle n'a plus d'argent; elle a tout dépensé. (หล่อนไม่มี เงินเหลืออีก หล่อนใช้มันไปหมดแล้ว)

- Elle est tombée. Elle a mal aux genoux. (หล่อนหกล้ม หล่อนเจ็บหัวเข่า)

3. ใช้ตามหลัง "si" ในประโยคที่บอก เงื่อนไข หรือ สมมุติฐาน

- Si tu as fini tes devoirs, tu pourras regarder la télévision. (ถ้าเธอทำการบ้านเสร็จแล้ว เธอก็ดูโทรทัศน์ได้)

- Si vous ne vous êtes pas encore inscrit(e), dépêchez-vous de le faire. (หากคุณยังไม่ไดสมัคร ก็ต้องรีบเร็วเข้า)

รูปแบบ : เราใช้กริยาช่วย (auxiliaire) "avoir" หรือ "être" ในรูป présent + participe passé

"avoir" ใช้กับ verbe ส่วนใหญ่ :

J' ai bien mangé. [inf. = manger]

Tu as fini ton travail ? [inf. = finir]

Il a eu un accident. [inf. = avoir]

Elle a été malade. [inf. = être]

Nous avons dîné dans un bon restaurant. [inf. =dîner]

Vous avez appris l' anglais ? [inf. = apprendre]

Ils ont fait beaucoup de photos. [inf. = faire]

Elles ont mis leur plus belle robe. [inf. = mettre]

ในประโยคปฎิเสธ " ne ............. pas " ครอบกริยาช่วย "avoir"

- Je n' ai pas trouvé sa maison.

- Tu n' as pas fini ?

participe passé ของกริยาแท้ไม่ทำ accord (ไม่เปลี่ยนรูป) ให้สัมพันธ์กับเพศและพจน์ของประธานเมื่อใช้กับ verbe "avoir"

"être" :

1. ใช้กับ verbes ต่อไปนี้ :

aller[allé] - venir[venu] - revenir[revenu] - arriver[arrivé] - partir[parti] - passer[passé]

entrer[entré] - rentrer[rentré] - sortir[sorti] - tomber[tombé] - rester[resté] - retourner[retourné]

monter[monté] - descendre[descendu] - naître[né] - mourir[mort]

- Je suis allé(e) au cinéma hier soir.

- Tu es allé(e) au cinéma hier soir ?

- Il est allé au cinéma hier soir.

- Elle est allée au cinéma hier soir.

- Nous sommes allés(es) au cinéma hier soir.

- Vous êtes allé(e)(es)(s) au cinéma hier soir ?

- Ils sont allés au cinéma hier soir.

- Elles sont allées au cinéma hier soir.

participe passé ของกริยาแท้ต้องทำ accord (เปลี่ยนรูป) ให้สัมพันธ์กับเพศและพจน์ของประธาน

(เติม e สำหรับเพศหญิง - เติม s สำหรับพหูพจน์เพศชาย - เติม es สำหรับพหูพจน์เพศหญิง) เมื่อใช้กับ verbe "être"

สำหรับ verbe : monter, descendre, entrer(rentrer), sortir, passer, retourner : เมื่อตามด้วยกรรมตรง

(complément d' objet direct) ต้องใช้ verbe "avoir" ช่วยในการทำ เป็น passé composé

- Elle est passée chez moi hier. (หล่อนแวะมาบ้านฉันเมื่อวาน)

- Elle a passé de bonnes vacances au bord de la mer. (หล่อนใช้เวลาช่วงวันหยุดอย่างมีความสุขที่ ชายทะเล)

ในประโยคปฎิเสธ " ne ............. pas " ครอบกริยาช่วย "être"

- Je ne suis pas sorti hier.

- Il n' est pas venu en classe hier.

2. Verbe pronominal ทุกตัว ใช้กับ verbe "être" เมื่อเป็น passé composé

Je me suis lavé.

Tu t' es amusé ?

Il s' est réveillé ?

Elle s' est promenée.

Nous nous sommes disputés.

Vous vous êtes fâchés avec vos copains ?

Ils se sont intéressés à la peinture.

Elles se sont rencontrées dans une fête.

ในประโยคปฎิเสธ " ne ............. pas " ครอบทั้ง สรรพนาม และ กริยาช่วย "être"

- Je ne me suis pas amusé à la fête d' hier soir.

- Elle ne s' est pas fâchée contre toi !

participe passé ของกริยารูป pronominal ต้องทำ accord (เปลี่ยนรูป) ให้สัมพันธ์กับเพศและพจน์ของประธาน

(เติม e สำหรับเพศหญิง - เติม s สำหรับพหูพจน์เพศชาย - เติม es สำหรับพหูพจน์เพศหญิง) เมื่อใช้กับ verbe "être"

ยกเว้นเมื่อมีกรรมตรงตามมา หรือโครงสร้างของกริยา pronominal เป็น กรรมรอง

- Sabine s' est lavée. (ทำ accord) [ซาบิ้นอาบนํ้า]

- Sabine s' est lavé les cheveux. (ไม่ทำ accord เพราะมีกรรมตรง "les cheveux" ตามมา) [ซาบิ้นสระผม]

- Sabine et sa copine se sont téléphoné pendant 2 heures ! [ซาบิ้นกับเพื่อนโทรศัพท์ถึงกันเป็นเวลาตั้ง

2 ชั่วโมง]

(ไม่ทำ accord เพราะโครงสร้างของกริยา pronominal เป็น กรรมรอง : Sabine téléphone à sa copine และ

Sa copine téléphone à Sabine)

Les temps de l'indicatif

Le futur

Le futur proche

การใช้ :

1. บอกเหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้

- Le train va partir dans 5 minutes. (รถไฟจะออกในอีก 5 นาที)

- Le ciel est gris. Il va pleuvoir ! (ท้องฟ้ามืดครึ้ม ฝนจะตกแล้ว)

2. บอกความตั้งใจ หรือโครงการที่จะทำ

- L'année prochaine, elle va entrer en terminale. (ปีหน้าหล่อนจะขึ้นชั้น ม.6)

- Cette année, je vais aller en France. (ปีนี้ฉันจะไปฝรั่งเศส)

รูปแบบ : เรา สร้าง futur proche โดยใช้ verbe "aller" นรูป présent + infinitif

Je vais venir.

Tu vas venir.

Il / Elle va venir.

Nous allons venir.

Vous allez venir.

Ils / Elles vont venir.

สำนวน " être sur le point de" + infinitif = กำลังจะ ... [ใช้บอกเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นทันทีหรือในไม่ช้า

หลัง จากผู้พูดบอกหรือกล่าว]

- Ah tu arrives à temps ! Nous sommes sur le point de partir. (อ้า..เธอมาทันเวลาพอดี เรากำลังจะไปอยู่พอดี)

- La classe est sur le point de commencer. (ชั้น เรียนกำลังจะเริ่มอยู่พอดี)


Le futur simple

การใช้ :

1. บอกเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งใกล้และไกลออกไป

- Tu recevras l'argent dans quelques jours. (เธอจะได้รับเงินในอีก 2-3 วันข้างหน้า) [อนาคตอันใกล้]

- On pourra utiliser le nouvel aéroport de Bangkok bientôt. (เราจะสามารถใช้สนามบินกรุงเทพฯ

แห่ง ใหม่ในไม่ช้า) [อนาคตที่ไกลออกไป]

2. บอกหรือสั่งหรือแนะนำให้ทำอะไรในอนาคต

- Tu feras cet exercice à la maison. (เธอค่อยทำแบบฝึกหัดนี้ ที่บ้าน)

- Vous prendrez ce médicament trois fois par jours. (คุณจะต้องทานยานี้วัน ละ 3 ครั้ง)

รูปแบบ : เรา สร้าง futur simple โดยการเติมลงท้าย : _ai, _as, _a, _ons, _ez, _ont ที่ infinitif ของ

verbe กลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 :


1er groupe

parler

2e groupe

finir

Je parlerai finirai
Tu parleras finiras
Il / Elle parlera finira
Nous parlerons finirons
Vous parlerez finirez
Ils / Elles parleront finiront

สำหรับ Verbe กลุ่มที่ 3 ก่อนที่จะเติมลงท้าย พอจะจำแนกออกได้เป็น 3 รูปแบบ :

1. เติมลงท้ายที่ infinitif สำหรับ verbe ที่ลงท้ายเหมือน verbe กลุ่มที่ 2 : partir, sortir, ouvrir,...

Je partirai

Tu partiras

Il / Elle partira

Nous partirons

Vous partirez

Ils / Elles partiront

2. ตัด "e" ของ verbe ที่ลงท้ายด้วย _re หรือ _dre ก่อนที่จะเติมลง ท้าย : lire, écrire, prendre,

boire, attendre, entendre, descendre, mettre, connaître, plaire, ...

boire -> boir..

Je boirai

Tu boiras

Il / Elle boira

Nous boirons

Vous boirez

Ils / Elles boiront

3. เป็น รูปที่ไม่ปรกติ (furtur irrégulier) เพราะไม่ได้เติมลงท้ายที่ infinitif แต่จากแกนหรือรูปของ

verbe แต่ละตัวซึ่งแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น :

être -> ser... avoir -> aur...

Je serai J' aurai

Tu seras Tu auras

Il / Elle sera Il / Elle aura

Nous serons Nous aurons

Vous serez Vous aurez

Ils / Elles seront Ils / Elles auront

* ตัวอย่างเพิ่มเติม verbes ที่รูป futur simple ไม่ปรกติ :

aller -> ir...

venir -> viendr...

faire -> fer...

pouvoir -> pourr...

vouloir -> voudr...

savoir -> saur...

voir -> verr...

devoir -> devr...

envoyer -> enverr...


Le futur antérieur

การใช้ : ใช้บรรยายเหตุการณ์ ในอนาคตที่จะเกิดขึ้นก่อนที่อีกเหตุการณ์หนึ่งในอนาคตจะเกิดตามมา

- Quand tu auras appris la leçon, tu feras les exercices.

- Nous reprendrons le travail quand nous serons rentrés de vacances.

รูปแบบ : เราใช้รูป futur simple ของกริยาช่วย (auxiliaire) "être" หรือ "avoir" + participe

passé ของ กริยาแท้ :

- Je te raconterai quand j'aurai vu le film.

- Elle nous téléphonera aussitôt qu' elle sera arrivée à la maison

พระราชวังแวร์ซายน์

























เรื่องพิศวงของ ลีโอนาโด ดาวินชี่

เรื่องพิศวงของ ลีโอนาโด ดาวินชี่

เรื่องพิศวงของ ลีโอนาโด ดาวินชี่ กับความลับที่ถูกเปิดเผยใน
THE DA VINCI CODE รหัสลับระทึกโลก




ภาพ เดอะวิทรูเวียนแมน

ใน ภาพยนตร์เรื่อง THE DA VINCI CODE จุดเริ่มต้นของการถอดรหัส เริ่มจาก เมื่อภัณฑรักษ์ “ชาร์ค โซนิแยร์” หัวหน้าผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ “ลูฟท์” พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ถูกฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยมในพิพิธภัณฑ์ โดยก่อนเสียชีวิต โซนิแยร์ ได้ทิ้งปริศนาการตายเป็นศพของเขาที่วางอยู่บนเป็นรูปสัญลักษณ์ “วิทรูเวียนแมน” หรือรูปคนกลางแขนบนดาวห้าแฉก “โรเบิรต์ แลงดอน” (นำแสดงโดย ทอม แฮงคส์) ศาสตราจารย์ด้านศาสน์สัญลักษณ์ แห่งมหาวิทยาลัย ฮาร์วาด์ จึงได้รับมอบหมายจากหน่วยราชการลับแห่งฝรั่งเศสนำโดย กัปตัน เบซุว์ ฟาสช์ (ณ็อง เรโน) ในการไขรหัสลับอันน่าสงสัยนี้

ภาพ เดอะวิทรูเวียนแมน ถูกวาดขึ้นเมื่อประมาณช่วงปี ค.ศ 1490 เป็นผลงานชิ้นเอกของศิลปิน ลีโอนาโดดาวินชี่ และได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพร่างที่ถูกต้องตามหลักสรีระศาสตร์มากที่สุด นอกจากนี้ในผลงานจริง จะเห็นว่าด้านบน และล่างของภาพมนุษย์ในวงกลม และสี่เหลี่ยมยังเต็มไปด้วยตัวอักษรหลายบรรทัดซึ่ง ลีโอนาโดบันทึกไว้ด้วยตัวอักษรแบบกลับด้าน ถอดความได้ว่า “ภาพนี้วากขึ้นเพื่อเป็นการศึกษาสรีระของร่างกายมนุษย์เพชาย ตามที่ถูกบรรทึกไว้โดยวิทรูเวียส์ นักปราชญ์ชาวโรมันในยุคก่อนคริสตกาล)

ว่ากันว่าลีโอนาโด ต้องการสะท้อนถึงการผสมผสานกันระหว่างมนุษย์ กับธรรมชาติ ต้องการสื่อว่า การทำงานของร่างกายมนุษย์นั้นสอดคล้องกับการเคลื่อนที่ของระบบจักรวาล รูปเหลี่ยมและกลายเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของยุคปัจจุบัน สี่เหลี่ยมเป็นสัญลักษณ์ของวัตถุ วงกลมคือสิ่งมีชีวิต และจิตวิญญาณ เมื่อรวมกันจึงกลายเป็นการดำรงอยู่ของมนุษย์ในปัจจุบันนั่นเอง สัญลักษณ์นี้จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้กันอย่างแะร่หลายในปัจจุบัน เพื่อแสดงถึงความเป็นสังคมมนุษย์

สาเหตุที่ท่านภัณฑรักษ์ โซนิแยร์ เลือกทิ้งปริศานาการตาย เป็นภาพนี้ เพื่อให้แลงดอน ได้ไขปริศนาไปยังผลงานต่างๆของลีโอนาโดดาวินชี่ ต่อไปนั่นเอง

ข้อมูลภาพโมนาลิซ่า MONA LISA หรือชื่อดั้งเดิมคือ ลาจิโอกองด์ (La Giaconda)

ลีโอนาโด เขียนภาพ MONA LISA หรือชื่อดั้งเดิมคือ ลาจิโอกองด์ (La Giaconda) นี้ขึ้นในช่วงระหว่างปี 1503 -1506 และกลายเป็นภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก เพราะรอยยิ้มลี้ลับที่ผู้คลั่งไคล้สนใจศิลปะทุกคนต้องการค้นหาคำตอบว่า เหตุใดเมื่อมองภาพนี้จากหลายๆมุม ก็จะเห็นอารมณ์ของหญิงสาวในภาพที่แตกต่างกันออกไป และแต่ละคนที่ดูก็จะตีความรอยยิ้มนั้นไม่เหมือนกันด้วย

หญิง สาวในรูปคือใคร ทฤษฎีที่ยอมรับมากที่สุด บ่งบอกว่าเธอมีนามว่า ลิซ่า เป็นภรรยาของ จิโอกอนโด พ่อค้าชาวอิตาเลี่ยนผู้ร่ำรวย ซึ่งว่าจ้างให้ลีโอนาโดวาดภาพเหมือนภรรยา คำว่า Mona ในภาษาอังกฤษคือ คำว่า Madam ดังนั้นชื่อภาพ Mona Lisa จึงหมายความว่า มาดาม ลิซ่า แต่ยังมีนักประวัติศาสตร์ อีกหลายท่านเชื่อว่าภาพนี้อาจเป็นภาพของคนอื่นก็เป็นไปได้..ที่ดังที่สุด เห็นจะเป็นความเชื่อที่ว่า ล๊โอนาโดเองนั่นล่ะที่อยู่ในภาพนี้

ภาพ MONA LISA หรือชื่อดั้งเดิมคือ ลาจิโอกองด์ (La Giaconda) ของจริงมีขนาดเพียง 31 นิ้ว x 21 นิ้ว เขียนบนแผ่นไม้ป๊อบ์ลาร์ ซึ่งเป็นการเขียนภาพสไตล์ สฟูมาโต ซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญพิเศษของศิลปินเอกผู้นี้ ในการวาดภาพสร้างบรรยากาศให้ภาพเหมือนมีหมอกอาบอยู่บางๆ และรูปร่างของสิ่งต่างๆ ในภาพดูเหมือนจะถูกกลืนเข้าหากันด้วย

ภาพ MONA LISA ถูกเก็บรักษาอย่างดี ในห้องกระจกนิรภัย ภายในพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และนับเป็นสมบัติทางศิลปะที่ประเมินค่าไม่ได้มากที่สุดชิ้นหนึ่งของโลก จึงมักเป็นที่หมายปองของเหล่ามิจฉาชีพ ภาพนี้เคยถูกปองร้ายจากคนวิกลจริตด้วยการนำน้ำกรดไปสาด แต่ถูกจับได้เสียก่อน ถึงกระนั้นภาพนี้ก็เคยถูกโจรกรรมไปแล้วถึง 2 ครั้ง โดยล่าสุดได้หายไปจากโถงจัตุรัสของพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ เมื่อปี 1911 และถูกค้นพบอีกครั้งในก้นกระเป๋าเดินทางขนาดใหญ่ ในห้องพักโรงแรมแห่งหนึ่งในฟลอเรนซ์ ในอีก 2ปีต่อมา



ข้อมูลภาพ The last supper เดอะลาสต์ ซัปเปอร์

เดอะลาสต์ ซัปเปอร์ คือภาพเขียนบนฝาผนังซึ่งถ่ายทอดเหตุการณ์ อาหารค่ำมื้อสุดท้าย ที่พระเยซูได้ร่วมโต๊ะกับสาวกทั้ง 12 คนก่อนที่จะถูกตรึงไม้กางเขน ลีโอนาโด วาดภาพนี้ ในปี 1495 และใช้เวลาถึง 3 ปีกว่าจะเสร็จสมบูรณ์

ข้อสังเกตของภาพนี้คือ สาวกแต่ละคนล้วนมีท่าทางที่ไม่ปกติ บางคนดูประหลาดใจ บางคนตื่นตระหนก บางคนสงสัย จะมีก็แต่ สาวกที่ชื่อ “จูดาส” ที่อยู่ในเงามืดและมีท่าทีสับสน ซึ่งสอดคล้องกับที่พระคัมภีร์กล่าวว่า พระเยซูทรงทำนายว่าสาวกคนหนึ่งของพระองค์จะทรยศพระองค์ และสาวกคนนั้นก็คือ จูดาสนั่นเอง

ก่อนหน้านั้น เคยมีจิตรกรวาดภาพ อาหารค่ำมื้อสุดท้ายเอาไว้มากมาย แต่มักใส่อภินิหารเข้าไปในภาพ ที่พบเห็นกันมากที่สุดคือ การวาดรัศมีที่ศรีษะของทุกคนในภาพ ยกเว้น จูดาส แต่ของลีโอนาโด เน้นที่ความสมจริง และแฝงการสื่อความหมายลงในภาพอย่าแยบยล จึงได้รับการยกย่องเป็นผลงานชิ้นเอกของโลกศิลปะ

ในภาพยนตร์เรื่องนี้ กล่าวว่า สาวกคนที่นั่งทางขวามือของพระเยซู เป็นผู้หญิง และไม่ใช่สตรีธรรมดาทั่วไป แต่เป็นคนที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่า คือ “นางแมรี่ แม็กดาลีน” ผู้เป็นภรรยาของพระเยซูนั่นเอง! จากภาพจะสังเกตได้ว่า พระเยซู กับ แมรี่ นั่งสะโพกชิดกัน และเอนตัวออกห่างกัน ที่สำคัญหากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าในภาพมีภาพของมือ ถือกริช อยู่หนึ่งมือ แต่เมื่อลองนับแขนทั้งหมดจนครบ จะเห็นว่ามือนั้น ไม่ได้เป็นของใครเลย ไม่ได้ติดกับร่างของใครในรูป และไม่มีตัวตน !!! เป็นการให้ความหมาย แฝงว่าสาวกของพระเยซูปองร้ายนาง แมรี่ แม็กดาลีนอยู่นั่นเอง อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ช็อคความเชื่อของผู้คนทั่วโลกอย่างมาก และกลายเป็นข้อวิพากย์วิจารณ์กันทั่วโลก ซึ่งผู้เขียน และผู้อำนวยการส้รางภาพยนตร์ แดน บราวน์ ไม่ออกมายอมรับ หรือปฏิเสธว่าจริงหรือไม่ โดยเขาทิ้งปริศนาให้คนอ่าน และผู้ชมภาพยนตร์ต้องขบคิดกันเอาเองว่า เรื่องนี้คือเรื่องจริง หรือว่าเป็นเพียงไอเดียในการแต่งเรื่อง ดาวินชี่ โค้ด หากอยากรู้ว่าเพราะเหตุใด ติดตามชมได้ในภาพยนตร์เรื่อง THE DA VINCI CODE ตั้งแต่ 18 พ.ค นี้เป็นต้นไปได้

ภาพวาดจิตรกรชาวฝรั่งเศส






เรื่องราวของอิรอส (Eros) หรือที่เรารู้จักกันทั่วไปว่า “กามเทพคิวปิด” และสาวงามของแผ่นดินไซคี (Psyche) ปรากฎหลักฐานการจารึกไว้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 2



ด้วยความ ริษยาในความงามของมนุษย์อย่างไซคี เทพีวีนัส (Venus) ออกคำสั่งให้บุตรชาย อิรอสเทพเเห่งความรัก ยิงลูกศรทองคำปักเข้าที่หัวใจของไซคี เพื่อทำให้นางต้องสาป ต้องตกหลุมรักอสูรร้ายตัวแรกที่ได้พบ



ทว่า ในขณะที่อิรอสกำลังง้างศรทองคำ เล็งไปยังไซคี เทพแห่งความรักกลับต้องศรของตัวเองอย่างไม่ตั้งใจ และตกหลุมรักนางอย่างถอนตัวไม่ขึ้น








ภาพวาดสีน้ำมัน วาดโดยจิตรกรชาวฝรั่งเศส Maurice Denis (1908)





Cupid and Psyche วาดโดยจิตรกร Lionel Noel Royer (1893)

ไซ คีซึ่งกำลังตั้งครรภ์บุตรของอิรอสรู้สึกเสียใจกับสิ่งที่พี่สาวทั้งสองบอก แต่นางก็ตัดสินใจทำตามคำแนะนำนั้น คืนนั้นเองไซคีได้ค้นพบว่า แท้ที่จริงแล้วคนรักของนางคืออิรอสเทพแห่งความรัก ด้วยความบังเอิญไซคีต้องศรแห่งรักของอิรอส และทำให้เขาตกใจตื่นขึ้น อิรอสจึงได้บินจากนางไป




Cupid and Psyche วาดโดยจิตรกรชาวฝรั่งเศส Jean-Baptiste Regnault
(1754 - 1829) จัดเเสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ Musees d'Angers, Angers


ไซคีออก เดินทาง ดั้นด้นติดตามหาคนรัก ไปจนถึงวิหารแห่งเทพีวีนัส เทพีวีนัสสั่งให้ไซคีแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวให้เสร็จสิ้นก่อนตะวันตกดิน ด้วยความช่วยเหลือของเหล่ามด ไซคีจึงสามารถทำได้สำเร็จ เทพีวีนัสโกรธมาก จึงสั่งให้นางไปตามหาขนแกะทองคำ เเละนำมันกลับมา ด้วยความช่วยเหลือของเทพแห่งสายน้ำ ไซคีจึงสามารถทำได้สำเร็จอีกครั้ง
สุด ท้ายเทพีวีนัสสั่งให้ไซคีเดินทางไปยังยมโลก ให้ราชินีของโลกเเห่งความตายมอบความงดงามของนางใส่กล่องกลับมา ไซคีตัดสินใจจะกระโดดลงมาจากหอคอย เพราะคิดว่าเป็นทางเดียวที่จะทำให้นางสิ้นชีวิต และสามารถเดินทางลงไปยังโลกเเห่งความตายได้ ทว่าหอคอยได้บอกความลับในการเดินทางไปสู่ยมโลกทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ให้ไซคี รู้



ไซคีทำตามคำแนะนำนั้นอย่างเคร่งครัด หญิงสาวได้รับกล่องที่บรรจุความงาม กลับมาจากยมโลก ทว่าระหว่างทาง นางตัดสินใจเปิดกล่องนั้นขึ้น เพียงเพราะต้องการความงามเพียงเล็กน้อยที่บรรจุเอาไว้ในกล่อง ที่แท้ภายในกล่องไม่ได้บรรจุความงดงามเอาไว้ แต่กลับเป็นการหลับไหลชั่วนิรันดร









ในที่สุด อิรอสซึ่งเห็นในความพยายามอย่างแรงกล้าของคนรัก ตัดสินใจกลับมาช่วยชีวิตของนางเอาไว้จากการต้องหลับไหลไปชั่วกาล เทพแห่งความรักเดินทางไปยังยอดเขาโอลิมปัส และขอร้องต่อมหาเทพซุส (Zeus) มหาเทพเรียกประชุมเหล่าเทพ และประกาศเจตจำนงค์ของพระองค์ซึ่งเป็นเทพสูงสุดว่า อิรอสเทพเเห่งความรักจักต้องเข้าพิธีสมรสกับไซคี








The Marriage of Cupid and Psyche วาดโดยจิตรกรชาวเวเนเซีย Andrea Schiavone (1550) จัดเเสดงไว้ที่ The Metropolitan Museum of Art, New York

ไซคีเข้าเฝ้ามหาเทพซุส มหาเทพได้ประทานน้ำอมฤตให้นางดื่ม ไซคีจึงได้รับชีวิตอมตะ กลายเป็นเทพีแห่งจิตวิญญาณ (Goddess of Soul) ครองรักอยู่คู่กับอิรอสเทพแห่งความรัก ...ชั่วนิจนิรันดร์.....