พิพิธภัณฑ์ลูฟร์
(ฝรั่งเศส: Musée du Louvre) หรือในชื่อทางการว่า the Grand Louvre เป็นพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะอันตั้งอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่มีชื่อเสียงที่สุด เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งได้เปิดให้สาธารณะชนเข้าชมได้เมื่อปี พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์คาเปเทียง ตัวอาคารเดิมทีเคยเป็นพระราชวังหลวง ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ที่จัดแสดงและเก็บรักษาผลงานทางศิลปะที่ทรงคุณค่าระดับโลกเป็นจำนวนมาก อย่างเช่น ภาพเขียนโมนาลิซา, The Virgin and Child with St. Anne, Madonna of the Rocks ผลงานของเลโอนาร์โด ดาวินชี หรือภาพ Venus de Milo ของอเล็กซานดรอสแห่ง Antioch ในปี พ.ศ. 2549 พิพิธภัณฑ์ลูฟร์มีผู้มาเยี่ยมชมเป็นจำนวน 8.3 ล้านคน ทำให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้มาเยี่ยมชมมากที่สุดในโลก[ต้องการอ้างอิง] และยังเป็นสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากที่สุดในกรุงปารีส
พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ออกแบบโดย ไอ. เอ็ม. เป สถาปนิกชาวจีน-อเมริกัน
พิพิธภัณฑ์ออร์เซย์
(อังกฤษ: Musée d'Orsay) เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะ, พิพิธภัณฑ์การออกแบบ/สิ่งทอ, และสถานที่ทางประวัติศาสตร์[2] ที่ตั้งอยู่ในกรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศส พิพิธภัณฑ์ออร์เซย์ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1986 บนฝั่งแม่น้ำเซนในสถานที่ที่เดิมเป็นสถานีรถไฟดอร์เซย์ของสถาปัตยกรรมแบบโบซาร์ที่สร้างระหว่างปี ค.ศ. 1898 ถึง ค.ศ. 1900 งานสะสมของพิพิธภัณฑ์ออร์เซย์เป็นศิลปะฝรั่งเศสที่สร้างระหว่างปี ค.ศ. 1848 ถึง ค.ศ. 1915 ที่รวมทั้งจิตรกรรม, ประติมากรรม, เฟอร์นิเจอร์, และภาพถ่าย แต่ที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดคืองานชิ้นเอกจากสมัยศิลปะอิมเพรสชันนิสม์และศิลปะอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลัง ที่รวมทั้งงานของโคลด โมเนท์, เอดวด มาเนท์ , เอ็ดการ์ เดอกาส์, ปีแยร์-ออกุสต์ เรอนัวร์, พอล เซซานน์, Seurat, พอล โกแกง และ ฟินเซนต์ ฟาน ก็อกฮ์
พระราชวังฟงแตนโบล
(อังกฤษ: Palace of Fontainebleau, ฝรั่งเศส: Château de Fontainebleau) เป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ราว 55 กิโลเมตรจากศูนย์กลางของกรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศส ที่เป็นพระราชวังหลวงที่ใหญ่ที่สุดพระราชวังหนึ่งของฝรั่งเศส สิ่งก่อสร้างที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นงานที่สร้างขึ้นและต่อเติมเปลี่ยนแปลงโดยพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสหลายพระองค์ ส่วนที่ก่อสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นส่วนที่สร้างโดยพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1
“พระราชวังฟงแตนโบล”[1] ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี ค.ศ. 1981
วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
วันชาติฝรั่งเศส
ย้อนไปเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ.1789 กองทัพทหาร และประชาชนได้พร้อมใจกันบุกคุกบาสติลย์ (Bastilles) เพื่อปลดปล่อย นักโทษ การเมือง ให้เป็นอิสระ อันคุกบาสติลย์นี้ถือว่าเป็นเครื่องหมายของการบีบบังคับและความอยุติธรรม ซึ่งเกิดจากการปกครอง โดยกษัตริย์ ที่ไร้ ทศพิธราชธรรม จึงประกาศวันที่ได้รับการปลดปล่อยนี้ให้เป็น..วันชาติของฝรั่งเศส (La Fête Nationale)
เมื่อหลายร้อยปีก่อน ประเทศฝรั่งเศสมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนกระทั่งถึงปลายศตวรรษที่ 16 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งราชวงศ์บูรบอง (Bourbon)บ้านเมืองอยู่ในระยะของสงครามอังกฤษ เพื่อแย่งชิงอาณานิคม ทำให้การเงินการคลังของประเทศล้มละลาย ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างอัตคัดขาดแคลน แต่ในทางกลับกัน ราชสำนักกลับมีความเป็นอยู่อย่างหรูหรา ฟุ่มเฟือย ชนชั้นขุนนางได้รับการยกเว้น ภาษี ส่วนประชาชน ที่มีความยากจนอยู่แล้วต้องถูกทางการรีดภาษีอย่างหนัก ทำให้เกิดความไม่พอใจอย่างมาก
ในตอนนั้น ชนชั้นกลางมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เนื่องจากชนกลุ่มนี้มีการศึกษาดี ร่ำรวย แต่ไม่มี สิทธิในทาง การเมือง การปกครอง เทียบเท่าชนชั้นพระ และชนชั้นขุนนาง จึงต้องการเปลี่ยนแปลงระบบเก่า และได้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจเอาไว้ โดยเข้าร่วม การปฏิวัติในอเมริกา ซึ่งมีสาระสำคัญในทางทฤษฎีว่าด้วยสิทธิิ ตามธรรมชาติิของมนุษย์ และสองนักปราชญ์แห่งยุคคือ วอลแตร์ กับ มองเตสกิเออ นำทฤษฎีดังกล่าวมาสอนประชาชน ในขณะเดียวกัน มาควิส เดอ ลา ฟาแยตต์ (Marquis de la Fayett) ซึ่งทำสงคราม ช่วยเหลือ ชาวอาณานิคม ในอเมริกาต่อต้านอังกฤษจนได้ชัยชนะ ก็นำความคิดนี้มาเผยแพร่ จึงทำให้ ประชาชนชาวฝรั่งเศส ดิ้นรนเรียกร้อง ให้ได้มาซึ่งสิทธิและเสรีภาพยิ่งขึ้น
เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1789 ประชาชนซึ่งมีความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้น ได้บุกเข้าปล้นสะดมบ้านของพวกขุนนาง กรุงปารีสมีแต่่ ความวุ่นวาย ชนชั้นกลางได้รวมตัวกันก่อตั้งกองทหารรักษาการณ์แห่งชาติเข้าร่วม กับประชาชนทำลายคุกบาสติลย์ ซึ่งเท่ากับว่า เป็นการปลดแอกอำนาจการปกครองโดยกษัตริย์ นับเป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ยิ่ง และสำคัญของโลก
ผลกระทบของเหตุการณ์ได้แพร่ไปสู่ประเทศอื่นๆในยุโรป โดยเฉพาะในรัสเซีย กล่าวคือระยะแรกของการปฏิวัติ ประมาณปี ค.ศ. 1791ได้มีการ ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใช้ กษัตริย์ต้องอยู่ใต้กฎหมาย และรัฐสภา ก็มีเพียงสภาเดียว คือ สภานิติบัญญัติ ชนชั้นกรรมาชีพมีบทบาทในการปกครอง แต่ด้วยความเกรงกลัวว่า การล้มล้างสถาบันกษัตริย์ ์จะแพร่ขยายไปทั่วยุโรป ทำให้ออสเตรียและปรัสเซียยกทัพรุกฝรั่งเศสแต่ไม่สำเร็จ ทางสภานิติบัญญัติจึงยกเลิกระบบ ราชาธิปไตยและประกาศเป็นประเทศสาธารณรัฐ เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1792 และตั้งสภาใหม่ขึ้นมา และในปี 1793 ก็ได้สำเร็จโทษพระเจ้าหลุยส์และพระนางมารี อังตัวเนต์ด้วยการประหารชีวิตด้วยเครื่องประหาร กิโยตีน แม้ผลการปฏิวัติจะสำเร็จ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังมีฐานะยากจนเหมือนเดิม รัฐบาลยังมุ่งแต่กอบโกยผลประโยชน์กัน จนมีบุคคลคนหนึ่งแสวงหาอำนาจโดย เป็นเครื่องมือ ให้ประชาชนเลื่อมใส และยึดอำนาจการปกครองมาเป็นของตน บุคคลผู้นี้คือ นโปเลียน โบนาปาร์ต
นโปเลียนได้กลายเป็นวีรบุรุษของชาติเพราะอาศัยความล้มเหลวของรัฐบาลสถาปนาตนเป็นแม่ทัพใหญ่คุมกองทัพ ออกไปรบชนะออสเตรเลียในปี ค.ศ.1797 ทั้งยังแพร่ขยายอาณาเขตไปทั่วยุโรป จนปี ค.ศ. 1804 ได้สถาปนาตนเอง ขึ้นเป็นจักรพรรดินโปเลียน และพยายาม ที่จะครอบครอง รัซเซียให้ได้ จึงทำสงคราม กับรัสเซีย และเป็นครั้งแรก ที่นโปเลียนแพ้ ทำให้ชนชาติต่างๆที่อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสเกิดกำลังใจที่จะต่อต้าน เมื่อนโปเลียน ได้ถูกเนรเทศไปยังเกาะอัลบา พระเจ้าหลุยส์ได้กลับมาครองราชย์ใหม่แต่เพียงระยะสั้นๆ ในปี ค.ศ.1815 นโปเลียนหนีกลับมาได้ อีกครั้งและประกาศตนเป็นจักรพรรดิ รวบรวมกำลังทหารเข้าต่อสู้กับ ฝ่ายพันธมิตร ต่างๆ เกิดสงครามวอเตอร์ลูขึ้น แต่ฝรั่งเศสก็รบแพ้ ทำให้ นโปเลียนถูกส่งขังที่เกาะเซนต์เฮเลนา นับเป็นการสิ้นสุดการครอง บัลลังก์เพียง 100 วันของนโปเลียน แล้วเขาก็เสียชีวิตบนเกาะนี้
ในปี ค.ศ. 1821 พระ เจ้าหลุยส์ที่ 18 กลับมาขึ้นครองราชย์อีกครั้ง แต่พระอนุชาคือ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 ทรงพยายาม ฟื้นฟูระบบเก่าขึ้นมาอีก จึงมีการปฏิวัติขึ้นอีก พระเจ้าหลุยส์ฟิลิปซึ่งดำรงตำแหน่งกษัตริย์อยู่ ได้ถูกเนรเทศออกนอก ประเทศ และต่อมาก็ได้มีการสถาปนา สาธารณรัฐขึ้น เป็นครั้งที่ 2 โดยมีหลุยส์นโปเลียนทำการรัฐประหารตั้งตัวเองขึ้น เป็นจักรพรรดิ ซึ่งพระองค์ทำให้ชาติฝรั่งเศสมีความเข้มแข็ง มั่นคงขึ้น สภาพทุกอย่าง ในประเทศดีขึ้น และมีการขยาย อาณานิคมไปยังประเทศต่างๆ
ในปี ค.ศ. 1860 พระเจ้าหลุยส์นโปเลียน สถาปนาจักรพรรดิฝรั่งเศสในเม็กซิโกแต่ไม่สำเร็จ เพราะ ถูกอเมริกา ขัดขวางไว้ และยังต้องทำ สงคราม กับปรัสเซียอีก ฝรั่งเศสก็เป็นฝ่ายแพ้อีกครั้งและต้องเสียดินแดนในแคว้นอัลซาสให้แก่ ปรัสเซีย อีกด้วย ซึ่งทำให้พระองค์ต้องสละราชบัลลังก์
ในปี ค.ศ.1875 มีการสถาปนาฝรั่งเศสเป็นครั้งที่ 3 ยุคของนโปเลียนสิ้นสุดลง ทำให้ประเทศฝรั่งเศสอ่อนแอ เป็นอย่างมาก ต้องเสียดินแดน ให้ผู้รุกราน ประจวบกับเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น เป็นเหตุให้ฝรั่งเศส ยิ่งบอบช้ำ ขึ้นไปอีก ภายหลัง ได้มี ีการเซ็นสัญญาสงบศึกที่ Vinchy แล้วฝรั่งเศสก็ประกาศตัวเป็นอิสรภาพ โดยความช่วยเหลือ จากฝ่ายพันธมิตรต่างๆ ในเดือนกันยายนปี 1944 นายพลชาลส์เดอโกล์ ก็ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำรัฐบาล ในปี ค.ศ.1946 ซึ่งเป็นยุคของสาธารณรัฐที่ 4
ระหว่างปี ค.ศ. 1946-1958 นายพลเดอโกล์ กลับมาดำรงตำแหน่งผู้นำอีกครั้ง ระหว่างที่ฝรั่งเศสเข้าร่วมวิกฤติการณ์ใน แอลจีเรีย เขาทำให้ ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีสังคม เปลี่ยนไปสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี และพัฒนาฝรั่งเศสดีขึ้นในหลายๆด้าน ทำให้เป็นที่ ยอมรับจากผู้คนที่นิยมในตัวเขา และให้สถาปนาฝรั่งเศส เป็นสาธารณรัฐ เป็นครั้งที่ 5 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958-ปัจจุบัน ต่อมามีการชุมนุม ประท้วง รัฐบาลในกรุงปารีส ทำให้รัฐบาล ต้องยอมรับมติประชาชนที่ว่าด้วยการปฏิรูป กฎหมาย รัฐธรรมนูญนายพลเดอโกล์จึงขอลาออกจากตำแหน่ง
ในวันที่ 10 พ.ค. ปี ค.ศ. 1981 ฝรั่งเศสได้ประธานาธิบดีคนใหม่ ที่มาจากการเลือกตั้ง คือประธานาธิบดีฟรังซัวส์ มิตแตร์รองด์ ผู้สมัครจากพรรค สังคมนิยม จึงบริหารงานด้วยระบอบสังคมนิยม และอยู่ในต่ำแหน่ง 14 ปีด้วยกัน จนกระทั่งมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่ึงทำให้ นายฌาคส์ ชีรัค ผู้สมัครจาก พรรคสังคมนิยมเช่นเดียวกันเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง เข้ารับการเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ.1995
สำหรับความสัมพันธ์ของไทยและฝรั่งเศสนั้น มีมาตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของ สมเด็จ พระนารายณ์มหาราช แต่ก็ต้องสิ้นสุดลง เพราะ การเมือง การปกครองของฝรั่งเศสกำลังวุ่นวาย .. ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสไม่ราบรื่น เพราะไทยพอใจทำการค้า กับจีน และมลายูมากกว่าประเทศ ทางยุโรป
จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่จุดประสงค์ คือต้องการที่จะให้ไทยเป็นเมืองขึ้น แต่ด้วย พระปรีชาสามารถของพระองค์ทำให้รอดพ้นเหตุการณ์นั้นมาได้
ปัจจุบันประเทศไทยได้รับวัฒนธรรมต่างๆของฝรั่งเศสเข้ามา ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง
เมื่อหลายร้อยปีก่อน ประเทศฝรั่งเศสมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนกระทั่งถึงปลายศตวรรษที่ 16 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งราชวงศ์บูรบอง (Bourbon)บ้านเมืองอยู่ในระยะของสงครามอังกฤษ เพื่อแย่งชิงอาณานิคม ทำให้การเงินการคลังของประเทศล้มละลาย ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างอัตคัดขาดแคลน แต่ในทางกลับกัน ราชสำนักกลับมีความเป็นอยู่อย่างหรูหรา ฟุ่มเฟือย ชนชั้นขุนนางได้รับการยกเว้น ภาษี ส่วนประชาชน ที่มีความยากจนอยู่แล้วต้องถูกทางการรีดภาษีอย่างหนัก ทำให้เกิดความไม่พอใจอย่างมาก
ในตอนนั้น ชนชั้นกลางมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เนื่องจากชนกลุ่มนี้มีการศึกษาดี ร่ำรวย แต่ไม่มี สิทธิในทาง การเมือง การปกครอง เทียบเท่าชนชั้นพระ และชนชั้นขุนนาง จึงต้องการเปลี่ยนแปลงระบบเก่า และได้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจเอาไว้ โดยเข้าร่วม การปฏิวัติในอเมริกา ซึ่งมีสาระสำคัญในทางทฤษฎีว่าด้วยสิทธิิ ตามธรรมชาติิของมนุษย์ และสองนักปราชญ์แห่งยุคคือ วอลแตร์ กับ มองเตสกิเออ นำทฤษฎีดังกล่าวมาสอนประชาชน ในขณะเดียวกัน มาควิส เดอ ลา ฟาแยตต์ (Marquis de la Fayett) ซึ่งทำสงคราม ช่วยเหลือ ชาวอาณานิคม ในอเมริกาต่อต้านอังกฤษจนได้ชัยชนะ ก็นำความคิดนี้มาเผยแพร่ จึงทำให้ ประชาชนชาวฝรั่งเศส ดิ้นรนเรียกร้อง ให้ได้มาซึ่งสิทธิและเสรีภาพยิ่งขึ้น
เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1789 ประชาชนซึ่งมีความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้น ได้บุกเข้าปล้นสะดมบ้านของพวกขุนนาง กรุงปารีสมีแต่่ ความวุ่นวาย ชนชั้นกลางได้รวมตัวกันก่อตั้งกองทหารรักษาการณ์แห่งชาติเข้าร่วม กับประชาชนทำลายคุกบาสติลย์ ซึ่งเท่ากับว่า เป็นการปลดแอกอำนาจการปกครองโดยกษัตริย์ นับเป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ยิ่ง และสำคัญของโลก
ผลกระทบของเหตุการณ์ได้แพร่ไปสู่ประเทศอื่นๆในยุโรป โดยเฉพาะในรัสเซีย กล่าวคือระยะแรกของการปฏิวัติ ประมาณปี ค.ศ. 1791ได้มีการ ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใช้ กษัตริย์ต้องอยู่ใต้กฎหมาย และรัฐสภา ก็มีเพียงสภาเดียว คือ สภานิติบัญญัติ ชนชั้นกรรมาชีพมีบทบาทในการปกครอง แต่ด้วยความเกรงกลัวว่า การล้มล้างสถาบันกษัตริย์ ์จะแพร่ขยายไปทั่วยุโรป ทำให้ออสเตรียและปรัสเซียยกทัพรุกฝรั่งเศสแต่ไม่สำเร็จ ทางสภานิติบัญญัติจึงยกเลิกระบบ ราชาธิปไตยและประกาศเป็นประเทศสาธารณรัฐ เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1792 และตั้งสภาใหม่ขึ้นมา และในปี 1793 ก็ได้สำเร็จโทษพระเจ้าหลุยส์และพระนางมารี อังตัวเนต์ด้วยการประหารชีวิตด้วยเครื่องประหาร กิโยตีน แม้ผลการปฏิวัติจะสำเร็จ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังมีฐานะยากจนเหมือนเดิม รัฐบาลยังมุ่งแต่กอบโกยผลประโยชน์กัน จนมีบุคคลคนหนึ่งแสวงหาอำนาจโดย เป็นเครื่องมือ ให้ประชาชนเลื่อมใส และยึดอำนาจการปกครองมาเป็นของตน บุคคลผู้นี้คือ นโปเลียน โบนาปาร์ต
นโปเลียนได้กลายเป็นวีรบุรุษของชาติเพราะอาศัยความล้มเหลวของรัฐบาลสถาปนาตนเป็นแม่ทัพใหญ่คุมกองทัพ ออกไปรบชนะออสเตรเลียในปี ค.ศ.1797 ทั้งยังแพร่ขยายอาณาเขตไปทั่วยุโรป จนปี ค.ศ. 1804 ได้สถาปนาตนเอง ขึ้นเป็นจักรพรรดินโปเลียน และพยายาม ที่จะครอบครอง รัซเซียให้ได้ จึงทำสงคราม กับรัสเซีย และเป็นครั้งแรก ที่นโปเลียนแพ้ ทำให้ชนชาติต่างๆที่อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสเกิดกำลังใจที่จะต่อต้าน เมื่อนโปเลียน ได้ถูกเนรเทศไปยังเกาะอัลบา พระเจ้าหลุยส์ได้กลับมาครองราชย์ใหม่แต่เพียงระยะสั้นๆ ในปี ค.ศ.1815 นโปเลียนหนีกลับมาได้ อีกครั้งและประกาศตนเป็นจักรพรรดิ รวบรวมกำลังทหารเข้าต่อสู้กับ ฝ่ายพันธมิตร ต่างๆ เกิดสงครามวอเตอร์ลูขึ้น แต่ฝรั่งเศสก็รบแพ้ ทำให้ นโปเลียนถูกส่งขังที่เกาะเซนต์เฮเลนา นับเป็นการสิ้นสุดการครอง บัลลังก์เพียง 100 วันของนโปเลียน แล้วเขาก็เสียชีวิตบนเกาะนี้
ในปี ค.ศ. 1821 พระ เจ้าหลุยส์ที่ 18 กลับมาขึ้นครองราชย์อีกครั้ง แต่พระอนุชาคือ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 ทรงพยายาม ฟื้นฟูระบบเก่าขึ้นมาอีก จึงมีการปฏิวัติขึ้นอีก พระเจ้าหลุยส์ฟิลิปซึ่งดำรงตำแหน่งกษัตริย์อยู่ ได้ถูกเนรเทศออกนอก ประเทศ และต่อมาก็ได้มีการสถาปนา สาธารณรัฐขึ้น เป็นครั้งที่ 2 โดยมีหลุยส์นโปเลียนทำการรัฐประหารตั้งตัวเองขึ้น เป็นจักรพรรดิ ซึ่งพระองค์ทำให้ชาติฝรั่งเศสมีความเข้มแข็ง มั่นคงขึ้น สภาพทุกอย่าง ในประเทศดีขึ้น และมีการขยาย อาณานิคมไปยังประเทศต่างๆ
ในปี ค.ศ. 1860 พระเจ้าหลุยส์นโปเลียน สถาปนาจักรพรรดิฝรั่งเศสในเม็กซิโกแต่ไม่สำเร็จ เพราะ ถูกอเมริกา ขัดขวางไว้ และยังต้องทำ สงคราม กับปรัสเซียอีก ฝรั่งเศสก็เป็นฝ่ายแพ้อีกครั้งและต้องเสียดินแดนในแคว้นอัลซาสให้แก่ ปรัสเซีย อีกด้วย ซึ่งทำให้พระองค์ต้องสละราชบัลลังก์
ในปี ค.ศ.1875 มีการสถาปนาฝรั่งเศสเป็นครั้งที่ 3 ยุคของนโปเลียนสิ้นสุดลง ทำให้ประเทศฝรั่งเศสอ่อนแอ เป็นอย่างมาก ต้องเสียดินแดน ให้ผู้รุกราน ประจวบกับเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น เป็นเหตุให้ฝรั่งเศส ยิ่งบอบช้ำ ขึ้นไปอีก ภายหลัง ได้มี ีการเซ็นสัญญาสงบศึกที่ Vinchy แล้วฝรั่งเศสก็ประกาศตัวเป็นอิสรภาพ โดยความช่วยเหลือ จากฝ่ายพันธมิตรต่างๆ ในเดือนกันยายนปี 1944 นายพลชาลส์เดอโกล์ ก็ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำรัฐบาล ในปี ค.ศ.1946 ซึ่งเป็นยุคของสาธารณรัฐที่ 4
ระหว่างปี ค.ศ. 1946-1958 นายพลเดอโกล์ กลับมาดำรงตำแหน่งผู้นำอีกครั้ง ระหว่างที่ฝรั่งเศสเข้าร่วมวิกฤติการณ์ใน แอลจีเรีย เขาทำให้ ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีสังคม เปลี่ยนไปสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี และพัฒนาฝรั่งเศสดีขึ้นในหลายๆด้าน ทำให้เป็นที่ ยอมรับจากผู้คนที่นิยมในตัวเขา และให้สถาปนาฝรั่งเศส เป็นสาธารณรัฐ เป็นครั้งที่ 5 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958-ปัจจุบัน ต่อมามีการชุมนุม ประท้วง รัฐบาลในกรุงปารีส ทำให้รัฐบาล ต้องยอมรับมติประชาชนที่ว่าด้วยการปฏิรูป กฎหมาย รัฐธรรมนูญนายพลเดอโกล์จึงขอลาออกจากตำแหน่ง
ในวันที่ 10 พ.ค. ปี ค.ศ. 1981 ฝรั่งเศสได้ประธานาธิบดีคนใหม่ ที่มาจากการเลือกตั้ง คือประธานาธิบดีฟรังซัวส์ มิตแตร์รองด์ ผู้สมัครจากพรรค สังคมนิยม จึงบริหารงานด้วยระบอบสังคมนิยม และอยู่ในต่ำแหน่ง 14 ปีด้วยกัน จนกระทั่งมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่ึงทำให้ นายฌาคส์ ชีรัค ผู้สมัครจาก พรรคสังคมนิยมเช่นเดียวกันเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง เข้ารับการเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ.1995
สำหรับความสัมพันธ์ของไทยและฝรั่งเศสนั้น มีมาตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของ สมเด็จ พระนารายณ์มหาราช แต่ก็ต้องสิ้นสุดลง เพราะ การเมือง การปกครองของฝรั่งเศสกำลังวุ่นวาย .. ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสไม่ราบรื่น เพราะไทยพอใจทำการค้า กับจีน และมลายูมากกว่าประเทศ ทางยุโรป
จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่จุดประสงค์ คือต้องการที่จะให้ไทยเป็นเมืองขึ้น แต่ด้วย พระปรีชาสามารถของพระองค์ทำให้รอดพ้นเหตุการณ์นั้นมาได้
ปัจจุบันประเทศไทยได้รับวัฒนธรรมต่างๆของฝรั่งเศสเข้ามา ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยปารีสที่มีชื่อเสียงชาวไทย
ศ. ดร. ปรีดี พนมยงค์
ม.ล.ทวีสันต์ ลดาวัลย์
พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์
ศ. ดร. ท่านผู้หญิงสุริยา รัตนกุล
ศ. ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
ดร. โภคิน พลกุล
รองศาสตราจารย์ ดร.โคทม อารียา
ศาสตราจารย์ ดร.เอี่ยม ฉายางาม
ม.ล.ทวีสันต์ ลดาวัลย์
พ.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์
ศ. ดร. ท่านผู้หญิงสุริยา รัตนกุล
ศ. ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
ดร. โภคิน พลกุล
รองศาสตราจารย์ ดร.โคทม อารียา
ศาสตราจารย์ ดร.เอี่ยม ฉายางาม
มหาวิทยาลัยปารีส
มหาวิทยาลัยปารีส (ฝรั่งเศส: Université de Paris ; อังกฤษ: University of Paris) เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับสองในโลก รองจากมหาวิทยาลัยโบโลญย่าในประเทศอิตาลี หลังจากก่อตั้งขึ้นมาเมื่อคราวสมัยกลางของยุโรป กล่าวคือคริสต์ศตวรรษที่ 12 มหาวิทยาลัยปารีสก็มีชื่อเสียงและนักศึกษามากกว่ามหาวิทยาลัยโบโลญย่าเสียอีก แม้แต่ชาวอังกฤษก็ต้องไปเรียนที่ประเทศฝรั่งเศส ต่อมากษัตริย์อังกฤษและฝรั่งเศสทรงทะเลาะกัน กษัตริย์อังกฤษจึงห้ามมิให้ชาวอังกฤษไปเรียนที่ฝรั่งเศสอีก และได้พากันมารวมตัวก่อตั้ง มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ขึ้นเป็นแห่งแรกในอังกฤษ
ข้อแตกต่างอย่างสำคัญระหว่าง มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หรือเรียกรวมๆ ว่า 'ระบบ อ๊อกซบริดจ์' กับมหาวิทยาลัยปารีสก็คือระบบอ๊อกซบริดจ์จะเน้นประสิทธิภาพสูงสุดในการสอนโดยใช้ระบบติวเตอร์พร้อมๆ กับการวิจัย ทั้งสองอย่างนี้กระทำในเวลาเดียวกัน ระบบนี้ทำให้ครูอาจารย์ใกล้ชิดนักศึกษามากเป็นพิเศษ แต่มหาวิทยาลัยปารีส เน้นหนักด้านการทำวิจัยมากกว่า มีลักษณะการจัดระบบการเรียนการสอนคล้ายๆ มหาวิทยาลัยรามคำแหงในประเทศไทย กล่าวคือใครมีวุฒิการศึกษาระดับม.ปลายที่ได้รับการยอมรับก็สมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยปารีสได้ทั้งนั้น ครูอาจารย์จะเอาเวลาส่วนใหญ่ไปทำการค้นคว้าวิจัย ดังนั้น จึงมีเวลาคุยกับนักศึกษาน้อยมาก
ดังนั้น เมื่อกอร์แมน (Gourman's Report) ได้พยายามสำรวจผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลก ปรากฏว่ามหาวิทยาลัยปารีสมีผลงานวิจัยผลิตมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยมอสโกสเตท ของ ประเทศรัสเซีย
ข้อแตกต่างอย่างสำคัญระหว่าง มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หรือเรียกรวมๆ ว่า 'ระบบ อ๊อกซบริดจ์' กับมหาวิทยาลัยปารีสก็คือระบบอ๊อกซบริดจ์จะเน้นประสิทธิภาพสูงสุดในการสอนโดยใช้ระบบติวเตอร์พร้อมๆ กับการวิจัย ทั้งสองอย่างนี้กระทำในเวลาเดียวกัน ระบบนี้ทำให้ครูอาจารย์ใกล้ชิดนักศึกษามากเป็นพิเศษ แต่มหาวิทยาลัยปารีส เน้นหนักด้านการทำวิจัยมากกว่า มีลักษณะการจัดระบบการเรียนการสอนคล้ายๆ มหาวิทยาลัยรามคำแหงในประเทศไทย กล่าวคือใครมีวุฒิการศึกษาระดับม.ปลายที่ได้รับการยอมรับก็สมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยปารีสได้ทั้งนั้น ครูอาจารย์จะเอาเวลาส่วนใหญ่ไปทำการค้นคว้าวิจัย ดังนั้น จึงมีเวลาคุยกับนักศึกษาน้อยมาก
ดังนั้น เมื่อกอร์แมน (Gourman's Report) ได้พยายามสำรวจผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลก ปรากฏว่ามหาวิทยาลัยปารีสมีผลงานวิจัยผลิตมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยมอสโกสเตท ของ ประเทศรัสเซีย
มรดกโลก
มหาวิหารโนเทรอดามแห่งอาเมียงส์
มหาวิหารอาเมียงส์ (ภาษาฝรั่งเศส: Cathédrale Notre-Dame d'Amiens; ภาษาอังกฤษ: Amiens Cathedral) มีชื่อเต็มว่า “Cathédrale Notre-Dame d'Amiens” หรือในภาษาอังกฤษว่า “Cathedral of Our Lady of Amiens” เป็นมหาวิหารที่สูงที่สุดในประเทศฝรั่งเศส มีเนื้อที่ภายในกว้างใหญ่ถึง 200,000 ตารางเมตร หลังคาโค้งกอธิคสูง 42.30 เมตรซึ่งเป็นหลังคากอธิคที่สูงที่สุดในฝรั่งเศส ตัวมหาวิหารตั้งอยู่ที่เมืองอาเมียงซึ่งเป็นเมืองสำคัญของพิคาร์ดี (Picardy) ในหุบเขาซอม (Somme) อยู่เหนือจากปารีสประมาณ 100 กิโลเมตรประวัติด้านหน้าวัดสร้างรวดเดียวเสร็จ--ระหว่างปี ค. ศ. 1220 ถึงปี ค. ศ. 1236--ลักษณะจึงกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตอนล่างสุดของด้านหน้าวัดเป็นประตูเว้าลึกใหญ่สามประตู เหนือระดับประตูขึ้นไปชั้นหนึ่งเป็นหินสลักขนาดใหญ่กว่าคนจริงของพระเจ้า แผ่นดิน 22 พระองค์เรียงเป็นแนวตลอดด้านหน้ามหาวิหารภายใต้หน้าต่างกุหลาบ สองข้างด้านหน้าประกบด้วยหอใหญ่สองหอ หอด้านใต้สร้างเสร็จเมื่อปี ค. ศ. 1366 หอทางทิศเหนือสร้างเสร็จ 40 ปีต่อมาเมื่อปี ค. ศ. 1406 และเป็นหอที่สูงกว่าเอกสารที่เกี่ยวกับประวัติการสร้างมหาวิหารนี้ถูกทำลายไปหมดเมื่อสถานที่ เก็บรักษาเอกสารสำคัญของวัดถูกไฟไหม้ไปเมื่อปีค. ศ. 1218 และอีกครั้งเมื่อปีค. ศ. 1258 ครั้งหลังนี้ไฟได้ทำลายตัวมหาวิหารด้วย บาทหลวงเอฟราดเดอฟุยอี (Bishop Evrard de Fouilly) เริ่มสร้างมหาวิหารใหม่แทนมหาวิหารเดิมที่ไหม้ไปเมื่อ ค. ศ. 1220 โดยมีโรแบร์ต เดอ ลูซาส (Robert de Luzarches) เป็นสถาปนิก และลูกชายของโรแบร์ต--เรนอด เดอ คอร์มองท์ (Renaud de Cormont) เป็นสถาปนิกต่อมาจนถึงค. ศ. 1288จดหมายเหตุคอร์บี (Chronicle of Corbie) บันทึกไว้ว่ามหาวิหารสร้างเสร็จเมื่อ ค. ศ. 1266 แต่ก็ยังมีการปิดงานต่อมา พื้นโถงกลางภายในมหาวิหารตกแต่งเป็นลวดลายต่างๆ หลายชนิดรวมทั้งลายสวัสดิกะ[1] ลายวนเขาวงกต (labyrinth) ซึ่งปูเมื่อปีค. ศ. 1288 นอกจากนั้นก็มีระเบียงรูปปั้นไม่ใหญ่นัก 3 ระเบียง 2 ระเบียงอยู่ด้านเหนือและด้านใต้ของบริเวณร้องเพลงสวด และระเบียงที่ 3 อยู่ทางด้านตะวันเหนือของแขนกางเขน เป็นเรื่องราวของนักบุญต่างๆ รวมทั้งชีวะประวัติของนักบุญจอห์น แบ็พทิสต์ มหาวิหารกล่าวว่าเป็นเจ้าของวัตถุมงคลที่สำคัญคือพระเศียรของนักบุญจอห์น แบ็พทิสต์ ซึ่งวัดได้มาจาก วอลลัน เดอ ซาตอง (Wallon de Sarton) ผู้ไปนำมาจากคอนสแตนติโนเปิล เมื่อกลับมาจากสงครามครูเสด ครั้งที่ 4รูปปั้นด้านหน้าข้างประตูมหาวิหารที่บอกได้ว่าเป็นนักบุญที่มาจากแถวๆ อาเมียงก็ได้แก่ นักบุญวิคทอเรียส, ฟูเซียน, และเจ็นเตียง (St. Victoricus, St. Fuscian, และ St. Gentian) ผู้พลีชีพเพื่อศาสนาไม่นานจากกันในคริสต์ศควรรษที่ 3 กล่าวกันว่าเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 บาทหลวงโฮโนราทุส (Bishop Honoratus) ผู้เป็นบาทหลวงองค์ที่ 7 ของมหาวิหารอาเมียงได้ขุดพบวัตถุมงคลของนักบุญทั้งสาม เมื่อพระเจ้าชิเดอแบรต์ที่ 2แห่งปารีส (Childebert II) พยายามยึดวัตถุมงคลก็ไม่สามารถทำได้ เมื่อไม่สามารถทำได้ก็ทรงอุทิศเงินก้อนใหญ่ให้กลุ่มลัทธิของผู้นิยมนักบุญ ทั้งสามและทรงส่งช่างทองมาทำเครื่องตกแต่งเพื่อเป็นเกียรติแก่นักบุญนักบุญอื่นที่เป็นนักบุญท้องถิ่นที่มีรูปปั้นอยู่หน้าประตูคือนักบุญโดมิ เทียส (St. Domitius) ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ผู้เคยเป็นนักบวชที่มหาวิหาร นักบุญอุลเฟีย (St. Ulphia) ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ผู้เคยเป็นลูกศิษย์ของนักบุญอุลเฟียและเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มสตรีผู้เคร่ง ศาสนาในบริเวณอาเมียง นักบุญแฟแมง (St Fermin) ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 ผู้ถูกประหารชีวิตที่อาเมียง
มหาวิหารอาเมียงส์ (ภาษาฝรั่งเศส: Cathédrale Notre-Dame d'Amiens; ภาษาอังกฤษ: Amiens Cathedral) มีชื่อเต็มว่า “Cathédrale Notre-Dame d'Amiens” หรือในภาษาอังกฤษว่า “Cathedral of Our Lady of Amiens” เป็นมหาวิหารที่สูงที่สุดในประเทศฝรั่งเศส มีเนื้อที่ภายในกว้างใหญ่ถึง 200,000 ตารางเมตร หลังคาโค้งกอธิคสูง 42.30 เมตรซึ่งเป็นหลังคากอธิคที่สูงที่สุดในฝรั่งเศส ตัวมหาวิหารตั้งอยู่ที่เมืองอาเมียงซึ่งเป็นเมืองสำคัญของพิคาร์ดี (Picardy) ในหุบเขาซอม (Somme) อยู่เหนือจากปารีสประมาณ 100 กิโลเมตรประวัติด้านหน้าวัดสร้างรวดเดียวเสร็จ--ระหว่างปี ค. ศ. 1220 ถึงปี ค. ศ. 1236--ลักษณะจึงกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตอนล่างสุดของด้านหน้าวัดเป็นประตูเว้าลึกใหญ่สามประตู เหนือระดับประตูขึ้นไปชั้นหนึ่งเป็นหินสลักขนาดใหญ่กว่าคนจริงของพระเจ้า แผ่นดิน 22 พระองค์เรียงเป็นแนวตลอดด้านหน้ามหาวิหารภายใต้หน้าต่างกุหลาบ สองข้างด้านหน้าประกบด้วยหอใหญ่สองหอ หอด้านใต้สร้างเสร็จเมื่อปี ค. ศ. 1366 หอทางทิศเหนือสร้างเสร็จ 40 ปีต่อมาเมื่อปี ค. ศ. 1406 และเป็นหอที่สูงกว่าเอกสารที่เกี่ยวกับประวัติการสร้างมหาวิหารนี้ถูกทำลายไปหมดเมื่อสถานที่ เก็บรักษาเอกสารสำคัญของวัดถูกไฟไหม้ไปเมื่อปีค. ศ. 1218 และอีกครั้งเมื่อปีค. ศ. 1258 ครั้งหลังนี้ไฟได้ทำลายตัวมหาวิหารด้วย บาทหลวงเอฟราดเดอฟุยอี (Bishop Evrard de Fouilly) เริ่มสร้างมหาวิหารใหม่แทนมหาวิหารเดิมที่ไหม้ไปเมื่อ ค. ศ. 1220 โดยมีโรแบร์ต เดอ ลูซาส (Robert de Luzarches) เป็นสถาปนิก และลูกชายของโรแบร์ต--เรนอด เดอ คอร์มองท์ (Renaud de Cormont) เป็นสถาปนิกต่อมาจนถึงค. ศ. 1288จดหมายเหตุคอร์บี (Chronicle of Corbie) บันทึกไว้ว่ามหาวิหารสร้างเสร็จเมื่อ ค. ศ. 1266 แต่ก็ยังมีการปิดงานต่อมา พื้นโถงกลางภายในมหาวิหารตกแต่งเป็นลวดลายต่างๆ หลายชนิดรวมทั้งลายสวัสดิกะ[1] ลายวนเขาวงกต (labyrinth) ซึ่งปูเมื่อปีค. ศ. 1288 นอกจากนั้นก็มีระเบียงรูปปั้นไม่ใหญ่นัก 3 ระเบียง 2 ระเบียงอยู่ด้านเหนือและด้านใต้ของบริเวณร้องเพลงสวด และระเบียงที่ 3 อยู่ทางด้านตะวันเหนือของแขนกางเขน เป็นเรื่องราวของนักบุญต่างๆ รวมทั้งชีวะประวัติของนักบุญจอห์น แบ็พทิสต์ มหาวิหารกล่าวว่าเป็นเจ้าของวัตถุมงคลที่สำคัญคือพระเศียรของนักบุญจอห์น แบ็พทิสต์ ซึ่งวัดได้มาจาก วอลลัน เดอ ซาตอง (Wallon de Sarton) ผู้ไปนำมาจากคอนสแตนติโนเปิล เมื่อกลับมาจากสงครามครูเสด ครั้งที่ 4รูปปั้นด้านหน้าข้างประตูมหาวิหารที่บอกได้ว่าเป็นนักบุญที่มาจากแถวๆ อาเมียงก็ได้แก่ นักบุญวิคทอเรียส, ฟูเซียน, และเจ็นเตียง (St. Victoricus, St. Fuscian, และ St. Gentian) ผู้พลีชีพเพื่อศาสนาไม่นานจากกันในคริสต์ศควรรษที่ 3 กล่าวกันว่าเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 บาทหลวงโฮโนราทุส (Bishop Honoratus) ผู้เป็นบาทหลวงองค์ที่ 7 ของมหาวิหารอาเมียงได้ขุดพบวัตถุมงคลของนักบุญทั้งสาม เมื่อพระเจ้าชิเดอแบรต์ที่ 2แห่งปารีส (Childebert II) พยายามยึดวัตถุมงคลก็ไม่สามารถทำได้ เมื่อไม่สามารถทำได้ก็ทรงอุทิศเงินก้อนใหญ่ให้กลุ่มลัทธิของผู้นิยมนักบุญ ทั้งสามและทรงส่งช่างทองมาทำเครื่องตกแต่งเพื่อเป็นเกียรติแก่นักบุญนักบุญอื่นที่เป็นนักบุญท้องถิ่นที่มีรูปปั้นอยู่หน้าประตูคือนักบุญโดมิ เทียส (St. Domitius) ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ผู้เคยเป็นนักบวชที่มหาวิหาร นักบุญอุลเฟีย (St. Ulphia) ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ผู้เคยเป็นลูกศิษย์ของนักบุญอุลเฟียและเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มสตรีผู้เคร่ง ศาสนาในบริเวณอาเมียง นักบุญแฟแมง (St Fermin) ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 ผู้ถูกประหารชีวิตที่อาเมียง
กุหลาบแวร์ซายน์
กุหลาบแวร์ซายส์ เป็นเรื่องราวของออสการ์ ฟรังซัวส์ เดอ จาร์เจ ตัวละครหลักของเรื่อง ในยุคของการปฏิวัติและการเกิดจลาจลภายในประเทศฝรั่งเศส ออสการ์เป็นทายาทคนสุดท้ายของนายพลชาร์เวอเลีย เดอ จาร์เจ ขุนนางแห่งฝรั่งเศสที่มีบุตรสาวถึง 6 คน นายพลจาร์เจตั้งความหวังถึงบุตรที่ถือกำเนิดขึ้นมา ซึ่งต้องเป็นบุตรชายเท่านั้นเพื่อสืบทอดตระกูลจาร์เจต่อไปในอนาคต แต่นายพลจาร์เจต้องผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง เมื่อบุตรคนเล็กถือกำเนิดขึ้นมาเป็นหญิง จึงตัดสินใจที่จะเลี้ยงดูบุตรสาวคนเล็กในแบบชายชาตรีและให้ชื่อว่า "ออสการ์" รวมทั้งสั่งสอนและฝึกฝนในเรื่องศิลปะการต่อสู้ วิชาทางด้านการทหาร การใช้ดาบและปืนให้แก่ออสการ์
เมื่อออสการ์ อายุ 11 ปี นายพลจาร์เจผู้เป็นบิดา ได้นำตัวอังเดร กรังดิเออร์ เด็กรับใช้ภายในคฤหาสน์จาร์เจ หลานชายเพียงคนเดียวของแม่บ้านที่เป็นแม่นมและเลี้ยงดูออสการ์มาตั้งแต่เล็ก เพื่อเป็นเพื่อนเล่นและคู่มือในการฝึกซ้อมดาบแก่ออสการ์ ด้วยวัยที่ใกล้เคียงกันทำให้ทั้งสองสนินสนมกันอย่างรวดเร็ว และมักใช้เวลาส่วนใหญ่ในการฝึกฝนการซ้อมดาบและศิลปะการต่อสู้ ตลอดเวลาอังเดรกลายเป็นผู้ที่พ่ายแพ้ให้แก่ออสการ์ โดยที่อังเดรเป็นฝ่ายเต็มใจในความพ่ายแพ้ของตนเองเพื่อที่ได้อยู่ใกล้ชิดกับออสการ์ ผู้เป็นทั้งเจ้านาย เพื่อนเล่นและหญิงสาวที่ตนเองแอบหลงรัก
ในช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงการปกครองของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ทางฝรั่งเศสได้มีการต้อนรับพระนางมารี อองตัวเนต เจ้าหญิงแห่งฮังการีและแคว้นโบฮีเมีย อาร์คดัชเชสแห่งออสเตรียที่เสด็จมาเพื่ออภิเษกกับมกุฎราชกุมารแห่งฝรั่งเศส และดำรงตำแหน่งราชินีแห่งฝรั่งเศส ตระกูลจาร์เจได้มีโอกาสรับใช้ราชวงศ์แห่งฝรั่งเศส เมื่อออสการ์เข้ารับราชการเป็นนายทหารรักษาพระองค์ของฝรั่งเศส ตามเจตนารมณ์ของนายพลจาร์เจ เมื่ออายุ 13 ปี และได้มีโอกาสปฏิบัติหน้าที่ในการคุ้มครองแก่เจ้าหญิงออสเตรีย
เมื่อออสการ์เข้ารับราชการทหาร อังเดรได้ติดตามออสการ์เข้ารับราชการทหารเช่นกัน ออสการ์มีหน้าที่ในการอารักขาและตามเสด็จพระนางมารี อองตัวเนต ยามพระนางเสด็จออก ณ สถานที่ต่าง ๆ ภายหลังจากพิธีอภิเษกสมรสระหว่างพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสและพระนางมารี อองตัวเนต เสร็จสิ้น ฝรั่งเศสได้จัดงานเฉลิมฉลองต้อนรับราชินีแห่งฝรั่งเศสอย่างยิ่งใหญ่ ออสการ์ได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งองค์รักษ์ประจำพระองค์ของพระนางมารี อองตัวเนต แต่ด้วยพระชนมายุที่อ่อนวัย ภายหลังจากดำรงตำแหน่งราชินีแห่งฝรั่งเศสได้ไม่นาน พระนางมารี อองตัวเน็ต ก็พบเจอกับกฎระเบียบข้อบังคับที่เคร่งครัดของราชวงศ์ฝรั่งเศส ที่ทำให้พระนางทรงรู้สึกอึดอัดพระทัยเป็นอย่างยิ่ง
อังเดร กรังดิเออร์, ออสการ์ ฟรังซัวส์ เดอ จาร์เจ,เคานท์แฟร์ซอง ตัวละครหลักในภาคการ์ตูนมังงะและอะนิเมะ
ความอ่อนแอของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ที่ทรงสนพระทัยทางด้านดนตรีและศิลปะมากกว่าพระนาง ทำให้พระนางทรงหาทางหลบหลีกกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ของราชวงศ์ฝรั่งเศส ละทิ้งตำแหน่งราชินีด้วยการปลอมพระองค์ สวมหน้ากากปิดบังใบหน้า อำพรางพระองค์ เสด็จออกตามโรงละครต่าง ๆ เพื่อหาความสำราญ ทรงสนพระทัยงานเลี้ยงเต้นรำของเหล่าผู้ดี ที่จัดงานเต้นรำแทบทุกคืน ทุกครั้งที่พระนางมารี อองตัวเนต ปลอมพระองค์เป็นเลดี้ของท่านเคานท์แห่งออสเตเรีย ออสการ์จะทำหน้าที่นายทหารราชองค์รักษ์ติดตามไปด้วยทุกครั้ง
พระนางมารี อองตัวเนต ทรงสนุกสนานกับการปลอมพระองค์ ปิดบังฐานะที่แท้จริง ทรงเพลิดเพลินกับงานเลี้ยงและการเต้นรำของเหล่าผู้ดี จนกระทั่งในงานเลี้ยงต้อนรับท่านเคานท์แฟร์ซองแห่งสวีเดน พระนางมารี อองตัวเนต ตอบรับคำเชิญของเหล่าเลดี้ เสด็จมาร่วมงานเลี้ยงต้อนรับด้วยการปลอมพระองค์ สวมหน้ากากสีดำเสด็จพร้อมด้วยออสการ์เช่นเคย ระหว่างงานเลี้ยงเต้นรำ เคานท์แฟร์ซองได้พบกับพระนางมารี อองตัวเนต เป็นครั้งแรกและประทับใจในความงามของพระนาง ถึงกับเสียมารยาทด้วยการถอดหน้ากากที่ปิดบังใบหน้าของพระนางมารี อองตัวเนต ออก เพื่อยลโฉมใบหน้าที่แท้จริงภายใต้หน้ากาก
ออสการ์แสดงตัวเป็นชายในฐานะราชองค์รักษ์ เข้าขัดขวางเคานท์แฟร์ซอง พร้อมกับแสดงฐานะที่แท้จริงของพระนางมารี อองตัวเนต การพบกันครั้งแรกให้ทั้งสองต่างพึงพอใจซึ่งกันและกัน และแอบลักลอบพบกันหลายต่อหลายครั้ง จนทำให้เกิดข่าวลือเรื่องชู้สาวของพระนางลือกระฉ่อนไปทั่วฝรั่งเศส ทำให้ชื่อเสียงและเกียรติยศของพระนางมารี อองตัวเนต เสื่อมเสีย ราชวงศ์ฝรั่งเศสได้รับผลกระทบจากข่าวลือที่กระจายไปทั่ว ออสการ์ในฐานะนายทหารรักษาพระองค์และคนสนิทของพระนางมารี อองตัวเนต ได้แก้ไขสถานการณ์ด้วยการขอร้องให้เคานท์แฟร์ซอง เดินทางกลับสวีเดน
เคานท์แฟร์ซอง ตัดสินใจเดินทางออกนอกประเทศ เพื่อยุติข่าวลือตามที่ออสการ์ขอร้อง และเข้าร่วมรบในสงครามปลดปล่อยอเมริกา พระนางมารี อองตัวเนต เสียพระทัยเป็นอย่างยิ่งที่คนรักของพระนางต้องจากไป จึงทรงเริ่มเปลี่ยนแปลงพระองค์ด้วยการสั่งซื้อเสื้อผ้าและเครื่องประดับราคาแพง เสด็จออกงานเลี้ยงเต้นรำแทบทุกคืน เพื่อให้พระนางทรงลืมเคานท์แฟร์ซอง ชายผู้เป็นที่รัก แต่การใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายของพระนางมารี อองตัวเนต ทำให้การเก็บภาษีอาการจากราษฎรต้องเพิ่มมากขึ้น ความยากจนแพร่กระจายไปทั่วฝรั่งเศส ราษฎรต่างเคียดแค้นพระนางมารี อองตัวเนต ที่เป็นทรงใช้จ่ายเงินทองเพื่อความต้องการของพระนาง
ออสการ์เติบโตในหน้าที่การงานจนได้เลื่อนขั้นเป็นนายพลกองทหารรักษาพระองค์ของฝรั่งเศส แต่กลับไม่ได้รับการยอมรับจากอเลน นายทหารภายในกองทหารรักษาพระองค์ ทำให้เกิดเรื่องบาดหมางระหว่างอังเดรและอเลน จนออสการ์ต้องคอยห้ามปรามหลายครั้ง และยอมลาออกจากตำแหน่งนายพลกองทหารรักษาพระองค์ของฝรั่งเศส มาประจำการที่ค่ายทหารประจำกรุงปารีส แต่เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นในชีวิตออสการ์ เมื่อนายพลจาร์เจ ตัดสินใจให้ออสการ์หมั้นและแต่งงานกับเจโรเดล อดีตผู้ใต้บังคับบัญชาของออสการ์
แต่ออสการ์ไม่ยอมรับงานหมั้นและแต่งงานกับเจโรเดลเนื่องจากรักอังเดร ภายหลังเกิดเหตุจลาจลขึ้น ราษฎรต่างพากันประท้วงเหล่าขุนนางและพวกผู้ดีฝรั่งเศส ออสการ์และอังเดรถูกทำร้ายได้รับบาดเจ็บ และได้รับการช่วยเหลือจาก เคานท์แฟร์ซอง ที่กลับมารับตำแหน่งพันเอกในกองทหารรักษาพระองค์ ภายในพระราชวังแวร์ซายส์เกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้น เกิดคดีสร้อยพระศอเพชร ที่โบห์แมร์ เรียกร้องเงินจำนวนหนึ่งล้านห้าแสนปอนด์จากพระนางมารี อองตัวเนต เพื่อเป็นค่าสร้อยพระศอเพชร ที่พระคาร์ดินัล เดอ โรออง เป็นผู้ว่าจ้างให้ทำขึ้นในนามของพระนางมารี อองตัวเนต ทำให้ราษฎรที่ได้รับความลำบากรวมตัวกันก่อเหตุปฏิวัติขึ้นอีกครั้ง
ออสการ์และอังเดรเข้าร่วมต่อสู้ในการปฏิวัติของราษฎรตามหน้าที่ แต่ทั้งสองถูกยิงเสียชีวิต พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พระนางมารี อองตัวเนต และเจ้าชายโจเซฟ รวมทั้งเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์ฝรั่งเศส ถูกจับและนำตัวไปคุมขังเพื่อรอการพิพากษา พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกนำตัวไปประหารชีวิตก่อน สร้างความตึงเครียดและความหวาดกลัวแก่พระนางมารี อองตัวเนต ทำให้เส้นพระเกศาสีทองเปลี่ยนเป็นสีขาวโพลนเพียงชั่วข้ามคืน ก่อนทีพระนางจะถูกนำตัวไปประหารชีวิตด้วยกิโยติน เพื่อชดใช้สำหรับประชาชนที่ต้องสูญเสียชีวิตและเงินทองเป็นค่าภาษีให้พระนางใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
เมื่อออสการ์ อายุ 11 ปี นายพลจาร์เจผู้เป็นบิดา ได้นำตัวอังเดร กรังดิเออร์ เด็กรับใช้ภายในคฤหาสน์จาร์เจ หลานชายเพียงคนเดียวของแม่บ้านที่เป็นแม่นมและเลี้ยงดูออสการ์มาตั้งแต่เล็ก เพื่อเป็นเพื่อนเล่นและคู่มือในการฝึกซ้อมดาบแก่ออสการ์ ด้วยวัยที่ใกล้เคียงกันทำให้ทั้งสองสนินสนมกันอย่างรวดเร็ว และมักใช้เวลาส่วนใหญ่ในการฝึกฝนการซ้อมดาบและศิลปะการต่อสู้ ตลอดเวลาอังเดรกลายเป็นผู้ที่พ่ายแพ้ให้แก่ออสการ์ โดยที่อังเดรเป็นฝ่ายเต็มใจในความพ่ายแพ้ของตนเองเพื่อที่ได้อยู่ใกล้ชิดกับออสการ์ ผู้เป็นทั้งเจ้านาย เพื่อนเล่นและหญิงสาวที่ตนเองแอบหลงรัก
ในช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงการปกครองของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ทางฝรั่งเศสได้มีการต้อนรับพระนางมารี อองตัวเนต เจ้าหญิงแห่งฮังการีและแคว้นโบฮีเมีย อาร์คดัชเชสแห่งออสเตรียที่เสด็จมาเพื่ออภิเษกกับมกุฎราชกุมารแห่งฝรั่งเศส และดำรงตำแหน่งราชินีแห่งฝรั่งเศส ตระกูลจาร์เจได้มีโอกาสรับใช้ราชวงศ์แห่งฝรั่งเศส เมื่อออสการ์เข้ารับราชการเป็นนายทหารรักษาพระองค์ของฝรั่งเศส ตามเจตนารมณ์ของนายพลจาร์เจ เมื่ออายุ 13 ปี และได้มีโอกาสปฏิบัติหน้าที่ในการคุ้มครองแก่เจ้าหญิงออสเตรีย
เมื่อออสการ์เข้ารับราชการทหาร อังเดรได้ติดตามออสการ์เข้ารับราชการทหารเช่นกัน ออสการ์มีหน้าที่ในการอารักขาและตามเสด็จพระนางมารี อองตัวเนต ยามพระนางเสด็จออก ณ สถานที่ต่าง ๆ ภายหลังจากพิธีอภิเษกสมรสระหว่างพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสและพระนางมารี อองตัวเนต เสร็จสิ้น ฝรั่งเศสได้จัดงานเฉลิมฉลองต้อนรับราชินีแห่งฝรั่งเศสอย่างยิ่งใหญ่ ออสการ์ได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งองค์รักษ์ประจำพระองค์ของพระนางมารี อองตัวเนต แต่ด้วยพระชนมายุที่อ่อนวัย ภายหลังจากดำรงตำแหน่งราชินีแห่งฝรั่งเศสได้ไม่นาน พระนางมารี อองตัวเน็ต ก็พบเจอกับกฎระเบียบข้อบังคับที่เคร่งครัดของราชวงศ์ฝรั่งเศส ที่ทำให้พระนางทรงรู้สึกอึดอัดพระทัยเป็นอย่างยิ่ง
อังเดร กรังดิเออร์, ออสการ์ ฟรังซัวส์ เดอ จาร์เจ,เคานท์แฟร์ซอง ตัวละครหลักในภาคการ์ตูนมังงะและอะนิเมะ
ความอ่อนแอของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ที่ทรงสนพระทัยทางด้านดนตรีและศิลปะมากกว่าพระนาง ทำให้พระนางทรงหาทางหลบหลีกกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ของราชวงศ์ฝรั่งเศส ละทิ้งตำแหน่งราชินีด้วยการปลอมพระองค์ สวมหน้ากากปิดบังใบหน้า อำพรางพระองค์ เสด็จออกตามโรงละครต่าง ๆ เพื่อหาความสำราญ ทรงสนพระทัยงานเลี้ยงเต้นรำของเหล่าผู้ดี ที่จัดงานเต้นรำแทบทุกคืน ทุกครั้งที่พระนางมารี อองตัวเนต ปลอมพระองค์เป็นเลดี้ของท่านเคานท์แห่งออสเตเรีย ออสการ์จะทำหน้าที่นายทหารราชองค์รักษ์ติดตามไปด้วยทุกครั้ง
พระนางมารี อองตัวเนต ทรงสนุกสนานกับการปลอมพระองค์ ปิดบังฐานะที่แท้จริง ทรงเพลิดเพลินกับงานเลี้ยงและการเต้นรำของเหล่าผู้ดี จนกระทั่งในงานเลี้ยงต้อนรับท่านเคานท์แฟร์ซองแห่งสวีเดน พระนางมารี อองตัวเนต ตอบรับคำเชิญของเหล่าเลดี้ เสด็จมาร่วมงานเลี้ยงต้อนรับด้วยการปลอมพระองค์ สวมหน้ากากสีดำเสด็จพร้อมด้วยออสการ์เช่นเคย ระหว่างงานเลี้ยงเต้นรำ เคานท์แฟร์ซองได้พบกับพระนางมารี อองตัวเนต เป็นครั้งแรกและประทับใจในความงามของพระนาง ถึงกับเสียมารยาทด้วยการถอดหน้ากากที่ปิดบังใบหน้าของพระนางมารี อองตัวเนต ออก เพื่อยลโฉมใบหน้าที่แท้จริงภายใต้หน้ากาก
ออสการ์แสดงตัวเป็นชายในฐานะราชองค์รักษ์ เข้าขัดขวางเคานท์แฟร์ซอง พร้อมกับแสดงฐานะที่แท้จริงของพระนางมารี อองตัวเนต การพบกันครั้งแรกให้ทั้งสองต่างพึงพอใจซึ่งกันและกัน และแอบลักลอบพบกันหลายต่อหลายครั้ง จนทำให้เกิดข่าวลือเรื่องชู้สาวของพระนางลือกระฉ่อนไปทั่วฝรั่งเศส ทำให้ชื่อเสียงและเกียรติยศของพระนางมารี อองตัวเนต เสื่อมเสีย ราชวงศ์ฝรั่งเศสได้รับผลกระทบจากข่าวลือที่กระจายไปทั่ว ออสการ์ในฐานะนายทหารรักษาพระองค์และคนสนิทของพระนางมารี อองตัวเนต ได้แก้ไขสถานการณ์ด้วยการขอร้องให้เคานท์แฟร์ซอง เดินทางกลับสวีเดน
เคานท์แฟร์ซอง ตัดสินใจเดินทางออกนอกประเทศ เพื่อยุติข่าวลือตามที่ออสการ์ขอร้อง และเข้าร่วมรบในสงครามปลดปล่อยอเมริกา พระนางมารี อองตัวเนต เสียพระทัยเป็นอย่างยิ่งที่คนรักของพระนางต้องจากไป จึงทรงเริ่มเปลี่ยนแปลงพระองค์ด้วยการสั่งซื้อเสื้อผ้าและเครื่องประดับราคาแพง เสด็จออกงานเลี้ยงเต้นรำแทบทุกคืน เพื่อให้พระนางทรงลืมเคานท์แฟร์ซอง ชายผู้เป็นที่รัก แต่การใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายของพระนางมารี อองตัวเนต ทำให้การเก็บภาษีอาการจากราษฎรต้องเพิ่มมากขึ้น ความยากจนแพร่กระจายไปทั่วฝรั่งเศส ราษฎรต่างเคียดแค้นพระนางมารี อองตัวเนต ที่เป็นทรงใช้จ่ายเงินทองเพื่อความต้องการของพระนาง
ออสการ์เติบโตในหน้าที่การงานจนได้เลื่อนขั้นเป็นนายพลกองทหารรักษาพระองค์ของฝรั่งเศส แต่กลับไม่ได้รับการยอมรับจากอเลน นายทหารภายในกองทหารรักษาพระองค์ ทำให้เกิดเรื่องบาดหมางระหว่างอังเดรและอเลน จนออสการ์ต้องคอยห้ามปรามหลายครั้ง และยอมลาออกจากตำแหน่งนายพลกองทหารรักษาพระองค์ของฝรั่งเศส มาประจำการที่ค่ายทหารประจำกรุงปารีส แต่เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นในชีวิตออสการ์ เมื่อนายพลจาร์เจ ตัดสินใจให้ออสการ์หมั้นและแต่งงานกับเจโรเดล อดีตผู้ใต้บังคับบัญชาของออสการ์
แต่ออสการ์ไม่ยอมรับงานหมั้นและแต่งงานกับเจโรเดลเนื่องจากรักอังเดร ภายหลังเกิดเหตุจลาจลขึ้น ราษฎรต่างพากันประท้วงเหล่าขุนนางและพวกผู้ดีฝรั่งเศส ออสการ์และอังเดรถูกทำร้ายได้รับบาดเจ็บ และได้รับการช่วยเหลือจาก เคานท์แฟร์ซอง ที่กลับมารับตำแหน่งพันเอกในกองทหารรักษาพระองค์ ภายในพระราชวังแวร์ซายส์เกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้น เกิดคดีสร้อยพระศอเพชร ที่โบห์แมร์ เรียกร้องเงินจำนวนหนึ่งล้านห้าแสนปอนด์จากพระนางมารี อองตัวเนต เพื่อเป็นค่าสร้อยพระศอเพชร ที่พระคาร์ดินัล เดอ โรออง เป็นผู้ว่าจ้างให้ทำขึ้นในนามของพระนางมารี อองตัวเนต ทำให้ราษฎรที่ได้รับความลำบากรวมตัวกันก่อเหตุปฏิวัติขึ้นอีกครั้ง
ออสการ์และอังเดรเข้าร่วมต่อสู้ในการปฏิวัติของราษฎรตามหน้าที่ แต่ทั้งสองถูกยิงเสียชีวิต พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พระนางมารี อองตัวเนต และเจ้าชายโจเซฟ รวมทั้งเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์ฝรั่งเศส ถูกจับและนำตัวไปคุมขังเพื่อรอการพิพากษา พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกนำตัวไปประหารชีวิตก่อน สร้างความตึงเครียดและความหวาดกลัวแก่พระนางมารี อองตัวเนต ทำให้เส้นพระเกศาสีทองเปลี่ยนเป็นสีขาวโพลนเพียงชั่วข้ามคืน ก่อนทีพระนางจะถูกนำตัวไปประหารชีวิตด้วยกิโยติน เพื่อชดใช้สำหรับประชาชนที่ต้องสูญเสียชีวิตและเงินทองเป็นค่าภาษีให้พระนางใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
ภาษาฝรั่งเศสที่ควรรู้
ไทย ฝรั่งเศส ออกเสียง
สวัสดี (ตอนเช้า) Bonjour บงชู
สวัสดี (ตอนเย็น) Bonsoir บงซัว
ลาก่อน Au revoir โอ (เครอ) วัว
ใช่ Oui หวิ
ไม่ Non น็อง
กรุณา S'll vous pla t ซิล วู เปล
ขอบคุณ Merci แม็ก ซิ
ขอโทษ Pardon ปากดง
Excusez-moi เอกซ์กูเซ มัว
สบายดีหรือ Comment allez-vousกอมมอง ตาเล วู้
คุณชื่อว่าอะไร Comment Vous กอม มอง วู
ฉันชื่อว่า Je m'appelle เชอ มาแปล์ว
ของนี้ราคาเท่าไร C'est combien เซ กง เบียง
ของนี้แพงเกินไป C'est trop cher เช โทรบ์ แชร์
ฉันต้องการซื้อ Je voudrais acheterเชอ วูเดร อะ เชเต้
ห้องน้ำอยู่ไหน Ou est la toillette อู เอ ลา ตัวแลต
สวัสดี (ตอนเช้า) Bonjour บงชู
สวัสดี (ตอนเย็น) Bonsoir บงซัว
ลาก่อน Au revoir โอ (เครอ) วัว
ใช่ Oui หวิ
ไม่ Non น็อง
กรุณา S'll vous pla t ซิล วู เปล
ขอบคุณ Merci แม็ก ซิ
ขอโทษ Pardon ปากดง
Excusez-moi เอกซ์กูเซ มัว
สบายดีหรือ Comment allez-vousกอมมอง ตาเล วู้
คุณชื่อว่าอะไร Comment Vous กอม มอง วู
ฉันชื่อว่า Je m'appelle เชอ มาแปล์ว
ของนี้ราคาเท่าไร C'est combien เซ กง เบียง
ของนี้แพงเกินไป C'est trop cher เช โทรบ์ แชร์
ฉันต้องการซื้อ Je voudrais acheterเชอ วูเดร อะ เชเต้
ห้องน้ำอยู่ไหน Ou est la toillette อู เอ ลา ตัวแลต
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)